ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
ภูเก็ต ตั้งอยู่ในภาคใต้ของไทย ติดกับจังหวัดกระบี่และจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต มาดูกันว่าที่นี่มีอะไรน่าสนใจกันบ้างเก็บกระเป๋าเดินทางไปพร้อมกันเลยค่ะ จังหวัดภูเก็ตได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน แถมยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอีกนะคะ หลายคนที่มาต่างพากันยกนิ้วให้กับความสวยงามของทิวทัศน์ที่มีทั้งหาดทรายแล้วก็น้ำทะเลสีฟ้าใสการเดินทางมาที่ภูเก็ตก็ไม่ยากเลยค่ะยิ่งเดินทางด้วยเครื่องบินแล้วนั้น ใช้เวลาเพียงแค่ชั่วโมงนิดๆ จากกรุงเทพฯ ก็จะมาถึงภูเก็ตแล้วค่ะ
จังหวัดภูเก็ตสามารถหาเช่ารถเพื่อเดินทางเข้าไปในเมืองภูเก็ตก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกเลยค่ะ ซึ่งเมื่อเขามาถึงเมืองภูเก็ตคุณผู้ชมก็จะพบกับอาคารรูปทรงโบราณสวยงามเรียงรายอยู่เป็นระยะระยะโดยเฉพาะย่านเมืองเก่าซึ่งการที่คนจีนสมัยโบราณตกแต่งตามสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ดังนั้นสถานที่แรกที่จะพาคุณผู้ชมไปเที่ยวนั้นก็คือบ้านชินประชาค่ะสาเหตุที่เราพาคุณผู้ชมมาเที่ยวที่นี่เป็นแห่งแรกพร้อมบ้านชินประชาชนบ้านหลังแรกบนเกาะภูเก็ตที่สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งสร้างขึ้นโดยชาวจีนจากปีนัง ปัจจุบันบ้านชินประชามีอายุกว่าร้อยปีเลยนะคะ
สาเหตุที่พระพุทธองค์หญิงอาคารแบบชิโนโปรตุกีสถูกก่อนสร้างอยู่ทั่วเมืองภูเก็ตเป็นเพราะว่าในอดีตภูเก็ตเป็นเมืองอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่มีมูลค่ามาก ๆทำให้ชาวตะวันตกพากันเข้ามาจนเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นหลังจากชมความงดงามของบ้านเชียงประชาแล้วขอแนะนำ ให้มาที่ถนนถลางค่ะ โดยเข้ามาในซอยรมณีย์ สถานที่ที่เราจะได้เจอตึกเก่าเกาะกลุ่มกันอยู่เป็นจำนวนมากด้วยสถาปัตยกรรมของสิ่งเหล่านี้จะมีสีสันที่สวยงามมีทั้งร้านกาแฟน่านั่งหรือห้องพักต่างๆ มากมายเหมาะแก่การเดินเล่นชิวชิวมากเลยค่ะ
เริ่มวันใหม่เดินทางไปวัดกันดีกว่า เมื่อมาถึงภูเก็ตต้องห้ามพลาดอย่างวัดไชยธารารามหรือวัดฉลองค่ะ วัดนี้เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ตหาใครมาเที่ยวภูเก็ตพาเที่ยวก็ขอแนะนำให้มาแวะนมัสการหลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลองเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเองและคนที่ท่านรักคะ
มาเที่ยวภูเก็ตแบบนี้เชื่อว่าสาวๆ หลายคนอาจจะกังวลเรื่องของผิวพรรณซึ่งในช่วงกลางวันที่ภูเก็ตแดดแรงมากคะ จึงขอแนะนำว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับเช็คนี้นั่นก็คือการทาครีมกันแดด ซึ่งการทาครีมกันแดดอย่างน้อยที่สุดควรเลือก SPF 15 ขึ้นไปถึงจะเป็นวันที่เมฆครึ้มก็ต้องทานนะคะ แต่ถ้าวันไหนแดดแรงก็ควรจะพบติดตัวไว้ทาซ้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของเราอาจจะได้รับอันตรายจากรังสี UV ด้วยนะคะ
ประวัติ
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง[ต้องการอ้างอิง]
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต
ร่วมสมัย
- วันที่ 23-30 มิถุนายน พ.ศ. 2529 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลัง[4]เกิดเหตุจลาจลทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อประท้วงคัดค้านโรงงานแทนทาลัมจนนำไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลัม อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง
- วันที่ 10-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[5]
- วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลางท่ามกลางการใช้ มาตรา 44 แทนกฎอัยการศึก[6]ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีผู้ต้องหาประมาณ 50 ราย[7]ทั้งหมดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 44 และพรบ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[8]
ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2[10]
สถานที่สำคัญ
- ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เป็นศาลากลางที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
- วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
- วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
- อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
- เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย (ชาวไทยใหม่) รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจ เป็นแม่เพลงอันดามัน หรือราชินีรองเง็งแห่งอันดามัน มีพระพุทธไสยาสน์ บนยอดเขา วัดบ้านเกาะสิเหร่ เกาะสิเหร่ แต่เดิมชาวอุรักลาโว้ย เรียกว่า "ปูเลา ซิเระห์" แปลว่า "เกาะพลู" ภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น "เกาะสิเหร่" ตามสำเนียงคนไทยเรียก
- ศาลเจ้ากะทู้ (อ๊ามในทู) เป็นที่แรก ที่เริ่มประเพณีถือศิลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
- ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
- ศาลเจ้าแสงธรรม หรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
- ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ หรือฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
- ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย
(เป็นศาลเจ้าที่มีคนร่วมงานประเพณีถือศิลกินผักมากที่สุดในจังหวัด)
- วัดพระทอง
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
- ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส) ถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎา ถนนระนอง ถนนเยาวราช ถนนเทพกระษัตรี ถนนสตูล ซอยรมณีย์ และตรอกสุ่นอุทิศ
- พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่ (เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
- สนามบินนานาชาติภูเก็ต อยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
- อนุสรณ์สถานเมืองถลาง อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. 2328
- ฮ่ายเหลงอ๋อง พญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา มหาราชินี (อยู่ติดกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูเก็ต)
ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะ แถบภูเก็ตและพังงา เท่านั้น ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้ว ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูเริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้น ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้น บ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า
การศึกษา
โรงเรียน
- โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โรงเรียนประจำจังหวัดภูเก็ต
- โรงเรียนสตรีภูเก็ต โรงเรียนประจำจังหวัดภูเก็ต
- โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนประจำจังหวัดภูเก็ตแบบสหศึกษา
- โรงเรียนกะทู้วิทยา โรงเรียนประจำอำเภอกะทู้
- โรงเรียนเมืองถลาง โรงเรียนประจำอำเภอถลาง
- ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต
- โรงเรียนวีรสตรีอนุสรณ์
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
ซอยรมณีย์ หรือ คนภูเก็ตเรียกในภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่งอาหลาย (巷仔內)
สถาปัตยกรรมในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต บนถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาราช และซอยรมณีย์ รวมทั้งถนนใกล้เคียง เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก และการค้าแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในยุคนั้นภูเก็ตเป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติ ทั้งจีน อินเดีย อาหรับ มลาย และยุโรป เข้ามาทำการค้าและอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่น ๆ ในแหลมมลายู เช่น ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การก่อสร้างและออกแบบอาคาร จึงได้รับอิทธิพลจากนานาชาติไปด้วย ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในเมืองภูเก็ต อาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณช่วง พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สอง พ.ศ. 2444-2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่สาม ยุคนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งชาวภูเก็ตทุกคนภาคภูมิใจ และตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป