ดูหลำ คนฟังเสียงปลา ภูมิปัญญาพรานทะเล
- หน้าแรก
- /
- รีวิวและ อัพเดตการท่องเที่ยว
- / ดูหลำ คนฟังเสียงปลา ภูมิปัญญาพรานทะเล
ดูหลำ คนฟังเสียงปลา ภูมิปัญญาพรานทะเล
ดูหลำ ศาสตร์แห่งการฟังเสียงปลา วิธีชีวิตประมงพื้นบ้านแท้ๆ ใครๆ ก็ดำน้ำได้ แต่จะมีกี่คนที่ฟังเสียงปลาได้ และรู้ว่าปลาอยู่ตรงไหน
ทุกวันนี้อาชีพนี้เหลือผู้ที่สืบทอดอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น เพราะมาเรียนแล้วก็ไป ไม่อดทน คนเลยหันไปใช้เทคโนโลยีแทน นั่นคือ GPS + Sonar ในการหาตำแหน่งปลา กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง แข่งขันกันดุเดือด
ลองไปชมกันค่ะ
ฉบับเต็ม
ตัวอย่าง
#ดูหลำ วิชาฟังเสียงปลาจากแดนใต้
ดูหลำใช้เป็นคำเรียกผู้ที่ฝึกฝนจนมีหู จับเสียงหายใจจากปลา และสัตว์น้ำใต้ทะเล( คล้ายๆหูทิพย์ ) หรือแม้แต่ใช้บอกตำแหน่งเรือจม ดูหลำเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการตรวจจับหาฝูงปลา ในทะเลใช้กันมากในภาคใต้คาบสมุทรแหลมมาลายู ในภาพยนต์สามารถใช้เสียงทำลายกันได้ (ซึ่งเป็นfantasyมิไช่เรื่องจริง)
บริเวณปลายด้ามขวาน ทางฟากฝั่งทะเลด้านตะวันออก นับตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไปจนถึง จ.ปัตตานี มีวิชาลึกลับของชาวเลพื้นถิ่นวิชาหนึ่ง ที่เมื่อได้ยินแล้วถึงกับอึ้ง ว่าเป็นไปได้จริงหรือ? เพราะวิชาที่เล่าขานสืบกันมาแต่อดีตนี้ จะทำให้ผู้ที่เรียนรู้ สามารถฟังเสียงปลาได้ ทำให้รู้ว่าในท้องทะเลที่กว้างใหญ่นั้น อยู่ตรงบริเวณไหน ปริมาณมากมายเท่าใด และอาจล่วงรู้ด้วยว่าเป็นปลาชนิดใด
"วิชาว่านี้ชื่อ "ดูหลำ""
ปัจจุบัน ยังมีชาวประมงในแถบจังหวัดสงขลาบางกลุ่ม ยังคงใช้นี้ในการออกเลหาปลา
การจับปลาด้วยวิชาดูหลำ เริ่มจากชาวประมองออกเรือไปยังที่คาดว่าน่าจะมีปลาอยู่ จากนั้น จะเอาพายเรือจุ่มลงไปในน้ำ เอาหูแนบกับพายฟังเสียงปลา โดยในขั้นนี้ จะบอกได้เพียงว่าฝูงปลาที่ได้ยินนั้น เวียนว่าย (น้ำ) อยู่ทางทิศใด ชาวประมงต้องพายเรือไปตามเสียงในทิศทางที่ได้ยิน
และเมื่อมาถึงที่ฝูงปลาอยู่ ชาวประมงจะลงน้ำ นอนคว่ำหน้าราบกับผิวน้ำทะเล โดยหันหน้าไปทางต้นเสียง ว่ากันว่าเสียงของปลาที่ดังมาได้ยินนั้น จะดังอยู่บริเวณหน้าผากของผู้ฟัง และเมื่อมุ่งหน้าตามเสียงไปเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุดที่ฝูงปลาอยู่หนาแน่น เสียงที่ได้ยินนั้นจะเปลี่ยนมาดังอยู่บริเวณหน้าอกของผู้ฟังแทน
"วิชาดูหลำ ต้องอาศัยความชำนาญและการฝึกฝน อันหมายถึงการออกจับปลาเป็นประจำ อยู่กับน้ำ ลม แดด ฟ้า ฝน จนชำนิชำนาญ"
ผู้ที่เรียนรู้วิชาดูหลำ จะพัฒนาขีดความสามารถของวิชานี้ได้เป็นขั้นๆไป จะสามารถแยกแยะเสียงปลาได้รู้ว่าเป็นปลาชนิดใด และสามารถรู้ด้วยถึงสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น กระแสน้ำ กระแสลม รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างปลากับดินฟ้าอากาศ กระทั่งอ่านความรู้สึกของปลาได้
สิ่งสำคัญคือ รักษาทะเลให้คงอยู่ต่อไป
แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่